เช็กระดับความเครียด ความวุ่นวายทางใจที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย พร้อมวิธีรับมือ

การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยปัญหาร้อยแปดพันอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น การเรียน การทำงาน การเงิน ไปจนถึงความคาดหวังจากคนรอบตัวหรือสังคม ทำให้เกิดความเครียดโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นความวุ่นวายทางจิตใจที่ส่งผลกระทบถึงร่างกายในหลายๆ ด้าน

ทำไมต้องเช็กความเครียด?

ความเครียดไม่ใช่แค่เรื่องของอารมณ์หรือความรู้สึกเหนื่อยล้าเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ เช่น อาการปวดหัว นอนไม่หลับ ปัญหาทางเดินอาหาร หรือแม้กระทั่งความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากปล่อยให้ความเครียดสะสมเรื้อรัง อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือแม้กระทั่งภาวะซึมเศร้า

ข้อมูลจากหนังสือ คุณรับมือกับความเครียดได้? : วัยทำงาน ที่จัดทำโดย สสส. ได้เผยว่าความเครียดแบ่งเป็น 4 ระดับดังนี้

1. ความเครียดระดับต่ำ (Mild Stress)

เป็นความเครียดที่ไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต อาจมีความรู้สึกเพียงแค่เบื่อหน่าย ขาดแรงกระตุ้น และมีพฤติกรรมที่เชื่องช้าลง

2. ความเครียดระดับปานกลาง (Moderate Stress)

เป็นความเครียดในระดับปกติที่ไม่ก่ออันตราย และไม่แสดงออกถึงความเครียดที่ชัดเจน ส่วนใหญ่จะสามารถปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติได้เองจากการได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ซึ่งช่วยคลายเครียด

3. ความเครียดระดับสูง (High Stress)

เป็นความเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรง หากปรับตัวไม่ได้ จะทำให้เกิดความผิดปกติตามมาทางร่างกาย อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย หงุดหงิด พฤติกรรมการนอนและการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป จนมีผลต่อการดำเนินชีวิต จึงควรหาใครสักคนคอยอยู่เป็นเพื่อนรับฟังปัญหา และระบายความรู้สึก รวมถึงมีผู้ใหญ่สักคนแนะนำให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

การพุดคุยปรึกษากับคนที่ไว้ใจได้ สามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เช่นกัน (ภาพจาก iStock)

4. ความเครียดระดับรุนแรง (Severe Stress)

เป็นความเครียดระดับสูงและเรื้อรังต่อเนื่องจนทำให้คนคนนั้นมีความล้มเหลวในการปรับตัว และก่อให้เกิดความผิดปกติและเกิดโรคต่างๆ ที่รุนแรงขึ้นมาได้ เช่น อารมณ์แปรปรวน มีอาการทางจิต มีความบกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจมีอาการนานเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์

เครียดจริงหรือคิดไปเอง ทดสอบได้ด้วยการวัดระดับความเครียด

หนึ่งในวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้เรารู้ถึงระดับความเครียดของตัวเองคือการทำแบบทดสอบที่ออกแบบมาเพื่อวัดความเครียดโดยเฉพาะ แบบทดสอบนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของระดับความเครียดที่คุณกำลังเผชิญอยู่ และอาจช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ หรือไม่

แบบทดสอบเช็กระดับความเครียด

วิธีรับมือกับความเครียด

หากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าคุณมีความเครียดสูง การหาวิธีรับมือกับมันจึงเป็นเรื่องสำคัญ นี่คือบางวิธีที่คุณสามารถลองทำได้

  • การออกกำลังกาย : การเคลื่อนไหวร่างกายช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดและช่วยให้จิตใจสงบลงได้
  • การหายใจลึกๆ : การฝึกหายใจให้ลึกและช้าเป็นวิธีที่ช่วยให้ร่างกายและจิตใจคลายเครียด
  • การนั่งสมาธิ : การฝึกสมาธิหรือการทำ mindfulness ช่วยให้คุณอยู่กับปัจจุบันและลดความวิตกกังวล
  • การพักผ่อนอย่างเพียงพอ : การนอนหลับที่ดีสามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายและจิตใจจากความเครียดได้
  • การพูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้ : การแบ่งปันความรู้สึกสามารถช่วยบรรเทาความเครียดได้

หากพบว่ามีระดับความเครียดสูงเป็นเวลานานหลายเดือนเกินกว่าที่จะรับมือด้วยตนเองได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการบำบัดและรักษา (ภาพจาก iStock)

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หรือเผชิญกับสถานการณ์ใด ความเครียดเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน สิ่งที่สำคัญคือการรู้ตัวและรู้จักวิธีจัดการกับมันอย่างเหมาะสม หากคุณรู้สึกว่าเครียดเกินไป ลองทำแบบทดสอบความเครียดเพื่อวัดระดับและรับคำแนะนำที่เหมาะสมในการดูแลตัวเอง

– Website : www.thairath.co.th

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า