เยาวชนคนเก่งจาก 2 โรงเรียนดังเชียงใหม่ คว้าสิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุระดับนานาชาติ ที่นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 23 – 26 สิงหาคมนี้
เยาวชนคนเก่งจาก 2 โรงเรียนดังเชียงใหม่ คว้าสิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุระดับนานาชาติ (Global Student Innovation Challenge: gSIC) ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคมนี้
ตามที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ทีมวิจัยเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวก กลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ จัดกิจกรรมการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุภายในประเทศ (Student Innovation Challenge: SIC Thailand 2024) ขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยสู่การประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ (Global Student Innovation Challenge: gSIC 2024) ซึ่งจะจัดขึ้น ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคมนี้
กิจกรรม SIC Thailand 2024 ในครั้งนี้ ได้มีนักเรียน นิสิต นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา ได้คิดและสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นนวัตกรรมช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุ ส่งเข้าร่วมการประกวดกว่า 200 ผลงาน โดย สวทช. เป็นผู้คัดเลือกสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เหลือเพียง 40 ผลงาน เข้าสู่การประกวดในรอบสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา
ผลการตัดสินการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุภายในประเทศ ประจำปี 2567 (Student Innovation Challenge Thailand 2024) ซึ่งมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจาก Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ สภากาชาดไทย กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทีมวิจัยจากกลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ร่วมเป็น คณะกรรมการตัดสินการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุภายในประเทศ ผลปรากฏว่า 10 ทีม ที่ได้รับคัดเลือกสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทการออกแบบ และ ประเภทเทคโนโลยี
โดยผลงานที่ได้รับการคัดเลือก ประเภทการออกแบบ 5 ทีม ได้แก่
1. ผลงาน Happy CP Gloves: Smiling Solutions for children with cerebral palsy จาก โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลเหรียญทอง
2. ผลงาน Braille’s Film จาก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ได้รับรางวัลเหรียญเงิน
3. ผลงาน BART LAB Intelligent Robotic Stair Climbing Wheelchair จาก มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง
4. ผลงาน STRAW SPLINT จาก โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้รับรางวัลชมเชย
5. ผลงาน Keeb Healthy จาก โรงเรียนราชินี ได้รับรางวัลชมเชย
และ ผลงานที่ได้รับการคัดเลือก ประเภทเทคโนโลยี 5 ทีม ได้แก่
1. ผลงาน ClearConverse: A Web Application for Enhanced Communication for People with Alaryngeal Speech จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลเหรียญทอง
2. ผลงาน CAREmate Robot จาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ได้รับรางวัลเหรียญเงิน
3. ผลงาน Designing and developing a walking aid device for physical therapy จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง
4. ผลงาน ALL Wheelchair: Encouraging Physical Activity for Wheelchair Users through a Novel Motion-Controlled Gaming System จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลชมเชย
5. ผลงาน Crossing Vision จาก โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ได้รับรางวัลชมเชย
ทั้งนี้ ผลงานที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง เหรียญเงิน และ เหรียญทองแดง ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุระดับนานาชาติ (Global Student Innovation Challenge: gSIC) ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม 2567
สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลชมเชย จะได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุระดับนานาชาติ (gSIC) ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เช่นกัน
ทั้งทุกทีมที่ได้รับรางวัล จะเข้าร่วมพิธีมอบรางวัล และ ค่ายกิจกรรมเสริมทักษะและการอบรมการนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2567 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เพื่อเตรียมตัวก่อนเป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุระดับนานาชาติ (gSIC) ต่อไป
โดยทีมเยาวชนคนเก่งจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่ ที่เป็นเจ้าของผลงาน Crossing vision หรือ นวัตกรรมช่วยคนตาบอดข้ามถนน ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่คว้าสิทธิ์ตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุระดับนานาชาติ (gSIC) ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย นายภูดิส วังธิยอง ,นายปวริศ จันทะสาร และนายศุภการต์ ชมดอก ทั้งหมดเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีนายลัทธวัฒน์ สอนศรีนุสรณ์ เป็นครูผู้ควบคุมทีม.