เปิดประตูระบายน้ำ ระบายน้ำลงสู่เขื่อนภูมิพล เพิ่มช่องว่าง ให้แม่น้ำปิงสามารถรองรับน้ำหลาก

ผอ.ชลประทานเชียงใหม่ พร้อม หน.ฝ่ายบริหารจัดการน้ำ สำนักงานชลประทานที่ 1 รุดตรวจดูประตูระบายน้ำและอาคารควบคุมด้านท้ายน้ำ มีน้ำล้นสันฝาย 10 ซม.ที่ฝายดอยน้อย ในขณะที่ ปตร.แม่สอย เปิดบาน 10 บาน ระบายน้ำลงสู่เขื่อนภูมิพล เพื่อป้องกันบรรเทาอุทกภัยในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ด้านฝายวังปานเปิดประตูระบายน้ำ 4 บาน ลดระดับแม่น้ำปิงให้น้ำลี้ไหลลงมาได้ป้องกันน้ำท่วมบ้านโฮ่ง ป่าซาง เวียงหนองลอง จ.ลำพูน

วันที่ 25 ส.ค. 67 นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายจิรชัย พัฒนพงศา หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำ สำนักงานชลประทานที่ 1 ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบประตูระบายน้ำและอาคารควบคุมที่ประตูระบายน้ำดอยน้อย และประตูระบายน้ำแม่สอย ซึ่งอยู่ในพื้นที่ท้ายน้ำของจังหวัดเชียงใหม่ และตรวจสอบปริมาณน้ำในระดับแม่น้ำปิง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นตรวจสอบความพร้อมการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันบรรเทาอุทกภัยในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจากการตรวจสอบประตูระบายน้ำและอาคารควบคุมสามารถใช้การได้ปกติและสภาวะแม่น้ำปิงก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ด้าน นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์น้ำปิงที่ประตูระบายน้ำดอยน้อย ปัจจุบันการระบายน้ำลงสู่พื้นที่ตอนล่างในอัตรา 185 ลบ.ม.ต่อวินาที ได้มีการเปิดบานระบาย 2 ช่องบาน บาน 4 เมตร 1 บาน และ 2 เมตร 1 บาน ปัจจุบันระดับน้ำด้านหน้าฝายมีความสูงกว่าสันฝายอยู่ประมาณ 10 เซนติเมตร สถานการณ์ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งประตูระบายน้ำดอยน้อยจะช่วยระบายน้ำในเขตเมืองเชียงใหม่ น้ำปิงตอนบน ตลอดจนลำน้ำทา ลำน้ำแม่กวง ตลอดจนลำน้ำขาน ที่มารวมกันก่อนถึงประตูรระบายน้ำดอยน้อย น้ำที่ระบายไปก็จะช่วยให้ด้านบนนั้นสามารถระบายน้ำได้ดีขึ้น เป็นการลดระดับน้ำแล้วเพิ่มช่องว่าง ให้แม่น้ำปิงสามารถรองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน ที่คาดว่าภายใน 1 – 2 วันนี้ยังมีฝนตก และยังเป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อป้องกันบรรเทาอุทกภัยในเขตจังหวัดเชียงใหม่

ขณะเดียวกันประตูระบายน้ำแม่สอย เป็นประตูระบายน้ำตัวสุดท้ายก่อนลงทะเลสาบเขื่อนภูมิพล ซึ่งเมื่อวันที่ 23 ส.ค. ปริมาณไหลผ่านประตูระบายน้ำ 280 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์ปกติ ขณะนี้โครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้รักษาระดับน้ำบริเวณหน้าประตูให้ต่ำกว่าระดับปกติ ซึ่งระดับปกติคือ 7 – 7.50 เมตร ปัจจุบันรักษาระดับน้ำไว้ไม่เกิน 6.50 เมตร เพื่อช่วยในเรื่องของการระบายน้ำจากพื้นที่ตอนบน ประตูระบายน้ำแห่งนี้สามารถช่วยเหลือพื้นที่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทางพื้นที่ตอนบนของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง และอำเภอดอยหล่อ อีกส่วนก็เป็นของจังหวัดลำพูน ได้แก่ อำเภอป่าซาง อำเภอลี้ อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอเวียงหนองล่อง ซึ่งมวนน้ำแห่งนี้ก็รับมวลน้ำจากลำน้ำลี้ ลำน้ำทา ตลอดจนลำน้ำในเขตฝั่งขวาของแม่น้ำปิง ลำน้ำขาน และลำน้ำแม่กลางจากดอยอินทนนท์ ปัจจุบันยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถควบคุมได้ ซึ่งประตูระบายน้ำแม่สอยแห่งนี้มีประตูระบยน้ำทั้งหมด 10 ช่องบาน กว้าง 8 เมตร สูง 7 เมตร ในขณะนี้ได้มีการระบายน้ำทุกช่องบาน บานละ 70 เซนติเมตร ซึ่งประตูระบายน้ำแห่งนี้สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,500 ลบ.ม.ต่อวินาที เป็นการเปิดทุกช่องบานพ้นน้ำ โดยในปี 2565 เคยเปิดเกือบถึงก็คือเปิดอัตราไหลผ่านไปที่ 1,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ก็สามารถระบายน้ำได้และไม่มีผลกระทบต่อด้านท้ายน้ำที่เป็นเขื่อนภูมิพล และอยู่ห่างจากประตูระบายน้ำแห่งนี้ประมาณ 20 กิโลเมตร

นายจิรชัย พัฒนพงศา หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำ สำนักงานชลประทานที่ 1 กล่าวว่า สำหรับฝายวังปาน ปัจจุบันมีระดับน้ำล้นสันฝายอยู่ที่ 41 เซนติเมตร ได้ทำการเปิดประตูระบายน้ำทั้งหมด 4 บาน มีน้ำระบายลงท้ายน้ำอยู่ที่ 222 ลบ.ม.ต่อวินาที สถานการณ์ในภาพรวมยังอยู่ในสภาวะปกติ การบริหารจัดการก็ได้มีการติดตามสถานการณ์ทางด้านเหนือน้ำ ตั้งแต่ประตูระบายน้ำท่าวังตาล ฝายแม่ปิงเก่า ฝายหนองสลีก และฝายวังปาน เพื่อจะนำมาปรับการบริหารจัดการน้ำให้อย่างเหมาะสม สำหรับฤดูฝนนั้น ทางฝายวังปานก็จะเร่งรระบยาน้ำในแม่น้ำปิงให้ลดลงได้ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำปิง นอกจากนั้น เมื่อน้ำปิงมีระดับต่ำก็จะทำให้แม่น้ำลี้ ไหลออกมาสู่แม่น้ำปิงได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดอุทกภัยในพื้นที่อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง และอำเภอเวียงหนองล่อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า