สืบสานขับขาน​ปี่ซอ สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทย จัดประกวดครบรอบ 76 ปี

สืบสาน​ศิลปะขับขานปี่ซอ/ซอพื้นเมืองล้านนา สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทย เชียงใหม่ จัดประกวดครบรอบ 76 ปี เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2566 เวลา 13.00​ น. ห้องประชุม โรงแรมสมายส์ล้านนา รีสอร์ท สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทย เชียงใหม่ ได้มีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ในโอกาสที่สมาคมสงเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทยฯ ครบรอบ 76 ปี โดยมี เจ้าเจือจันทร์ ณ เชียงใหม่ประธานการประกวดซอพื้นเมืองล้านนาประจำปี 2566 โดยประธานในการจัดแถลงข่าวในครั้งนี้ นำโดยนางรุ่งอรุณ ไทยสวัสดิ์ อุปนายกสมาคมฯภริยาท่านรองผู้ว่าฯ และมีนางผ่องพันธ์ จงยศยิ่ง ผู้แทน (มาดามหยก)​ นางสาวกชพร เวโรจน์ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การประกวดซอพื้นเมืองล้านนาประจำปี 2566 , พ่อครูอินตา เลาคำ นายกสมาคมสืบสานตำนานปี่ซอเชียงใหม่ พร้อมศิลปินซอ ครูแอ๊ด ภานุทัต อภิชนาธง และพร้อม สุวิศ เมืองฝาง และ ลำจวน ดอยเต่า และ นายถาวร ณ เชียงใหม่ นำผู้สนับสนุนการจัดงานมาแถลงข่าวพร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนเข้าร่วมในการแถลงข่าวในครั้งนี้

โดยได้มีการแถลงการจัดกิจกรรม คือทำบุญเลี้ยงพระเพื่อเป็นศิริมงคล, การจัดงานประกวดแข่งขันซอพื้นบ้านล้านนาไทย 2566 และการจัดกาล่าดินเน่อร์ฉลองครบรอบ 76 ปี ชมการแสดงแฟชั่นโชว์ผ้าไทย โดยสตรีวีไอพีของเชียงใหม่ พร้อมงานบันเทิงต่างๆ การจัดทำหนังสือครบรอบ 76 ปี สมาคมเพื่อสดุดีอดีตนายกสมาคมฯและสมาชิก ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดประกวดซอพื้นบ้านล้านนาไทย ครบรอบ 76 ปี สมาคมฯ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง​เนื่องในโอกาสครบรอบ 76 ปี ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พศ. 2566 ที่จะถึงนี้ โดยมีนางกุสุมาล พงษ์สิทธิถาวร ภริยา ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นนายกสมาคมฯ คนที่ 30 ทางสมาคมๆ จึงจัดกิจกรรมในโอกาสครบรอบการก่อตั้งสมาคมฯ 76 ปี ในหลายกิจกรรมด้วยกันเพื่อส่งเสริมงานวัฒนธรรมประเพณีของชาวล้านนา และเจริญรอยตามคณะผู้ก่อตั้งสมาคมฯเมื่อ 76 ปีก่อน ที่มีนโยบายส่งเสริมกิจกรรมของสตรีชาวล้านนา ให้มีบทบาทคู่กับสังคมเมืองเชียงใหม่ โครงการที่จัดขึ้นคือส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีล้านนา ประกอบด้วยงานทำบุญสำนักงาน, งานขันโตกกล่าดินเน่อร์ และการประกวดซอพื้นบ้านล้านนาไทยเชียงใหม่ ระดับเยาวชน ซึ่งเป็นความบันเทิงพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมจากชาวล้านนามาช้านาน แต่ในปัจจุบันนี้ คนรุ่นใหม่ขาดความสนใจ และแทบจะไม่มีคนสืบสานต่อทำให้ซอพื้นบ้านใกล้สูญหายไป

เจ้าเจือจันทร์ ณ เชียงใหม่ ประธานจัดการประกวดซอพื้นบ้านล้านนาไทย เผยว่า การจัดการแข่งขันประกวดซอพื้นบ้านล้านนาไทย 2566 โดยได้มีการบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สมาคมปี๋ ซอ จังหวัดเชียงใหม่กำหนดกติกาในการให้คะแนนผู้เข้าร่วมประกวด กลุ่มเยาวชนที่มีสิทธิในการเข้าประกวด อายุ 18 – 35 ปี โดยรับสมัครอย่างเปิดกว้าง โดยการส่งคลิปการประกวดส่งมาให้คณะกรรมการตามกำหนดวันเวลาที่ระบุ และตัดสินผู้เข้าชิงชนะเลิศในวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ณ เวทีลานอนุเสาวรีย์สามกษัตริย์ พร้อมบรรยากาศ ล้านนาไทย กาดหมั้วครัวฮอม โดยรางวัลที่ 1.รับถ้วยรางวัลจากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเงินรางวัล 15,000 บาท รองชนะเลิศที่ 2. รับถ้วยรางวัลรองชนะเลิศจาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท รองชนะเลิศที่ 3. รับถ้วยรางวัลจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่พร้อมเงินรางวัล 8,000 บาทสำหรับรางวัลชมเชยมีสองรางวัล รางวัลละ 5,000 บาท

ประวัติ​โดยย่อของ “สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทย เชียงใหม่” ใช้อักษรย่อว่า “ส.ว.ศ.” ได้จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เดิมใช้ชื่อว่า “สมาคมสตรีศรีล้านนาไทย” ก่อตั้งโดย นางแช่มชื่น รามราชภักดี และภริยาข้าราชการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเชิญชวนเจ้านายสตรีฝ่ายเหนือ และภริยาข้าราชการในจังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เข้าเป็นสาชิกและตั้งเป็นสมาคม ใช้สโมสรนวรัฐของข้าาราชการเป็นสำนักงานของสมาคมฯ และ ในปี พ.ศ.2498 ย้ายมาอยู่ที่สำนักงานของสมาคมฯ เลขที่ 1 ถนนเมืองสมุทร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ภายหลังจากการเสร็จสิ้นการแถลงข่าวได้มีการแสดง ซอพื้นเมืองล้านนา นำโดยครูแอ๊ด – ภานุทัต อภิชนาธง” ผู้ก่อตั้งชมรมดนตรีพื้นเมืองเชียงใหม่ พร้อมด้วยศิลปินช่างซ้อและคณะ บรรเลง ปี พร้อมดีดซอ แสดงให้แก่ผู้เข้าร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้

ด้วยเยาวชนหรือกลุ่มศิลปินซอพื้นบ้านที่สนใจเข้าร่วมประกวด สอบพื้นเมืองล้านนาปี 2566 ครบรอบสมาคมฯ 76 ปี สามารถติดต่อสอบถาม เพิ่มเติม ได้ที่ โทร.085 325 1979, 088 261 6703, และ 092 452 8552 นางผ่องพันธ์ จงยศยิ่ง ผู้ประสานงานสมาคมฯ หรือติดต่อผ่านทาง เพจ Facebook ของทางสมาคมฯ https://www.facebook.com/profile.php?id=100062994231561&mibextid=ZbWKwL.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า