ชลประทานเชียงใหม่ โชว์เครื่องวัดระดับน้ำทางไกลเคลื่อนที่แบบ Real Time

โครงการชลประทานเชียงใหม่ โชว์ผลงานนวัตกรรม เครื่องวัดระดับน้ำทางไกลเคลื่อนที่แบบ Real Time พร้อมนำเสนอผลงานเข้าประกวดนวัตกรรม ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 ประเภทนวัตกรรมบริการ ของกรมชลประทาน

นายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายวิสูตร จันทร์เขียว หัวหน้าฝ่ายช่างกล นายกิจพล สิงห์ภักดี หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 และนางสาวชลมาศ ทองคำ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 6 นำผลงานที่ต่อยอดจากผลงานเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ การเปิดปิดประตูส่งน้ำแบบอัจฉริยะ สามารถสั่งการผ่านมือถือ ตรวจสอบการไหล ปริมาณน้ำ และคุณภาพน้ำเป็นกรด เป็นด่าง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถดำเนินการได้ จึงได้นำมาต่อยอด

โดยในปีนี้ ทีมงานชลประทานเชียงใหม่ ได้คิดค้นเครื่องวัดระดับน้ำทางไกลเคลื่อนที่แบบ Real Time สามารถตรวจสอบผ่านระบบมือถือ เป็นเครื่องขนาดเล็กสามารถติดตั้งได้ง่าย ซึ่งต้องการตรวจวัดปริมาณระดับของน้ำได้ตลอดทั้งปี ในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ตามลำน้ำต่างๆ อยู่พื้นที่ภูเขาสูง พื้นที่ห่างไกล ไม่มีกระแสไฟฟ้าก็สามารถนำระบบพลังงานโซลาเซลล์เข้ามา  พร้อมนำไปทดลองใช้งานสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำระดับน้ำได้แบบReal Time ผ่านระบบมือถือ สามารถตรวจเครื่องวัดระดับน้ำได้ทันที่ มีเครื่องUltrasonic Level ตัวยิ่งคลื่นสะท้อนพื้นท้องน้ำแล้วสะท้อนกลับแปลผลผ่านระบบ ซึ่งจะออกมาเป็นระดับผลของการตรวจวัดจะแสงดผลออกมาในเว็บไซด์ โดยสามารถตรวจสอบระดับน้ำ ทุกพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเท่าไหร่

ซึ่งเครื่องมือตรวจวัดแบบนี้เหมาะแก่ชลประทานที่จะนำไปตรวจวัดระดับน้ำ ตามพื้นที่ห่างไกล บนดอยสูง พื้นที่ไม่มีไฟฟ้า จะทำให้การบริหารจัดน้ำในแต่ละพื้นที่ ในกรณีมีน้ำไหลหลาก ใช้ระบายน้ำแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เช่นผันน้ำเข้าทุงอย่างภาคกลาง พื้นที่ทุ่งบางระกำ ต้องการตรวจสอบระดับ ณ ปัจจุบัน มีระดับน้ำเท่าไร จะสามารถระบายเข้าไปในทุ่ง หรือจะระบายน้ำออกจากทุ่งได้เท่าไร ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการบริหารจัดน้ำ มีระดับน้ำเท่าไรมีปริมาณน้ำเท่าไร แนวโน้มระดับน้ำจะลดลงเท่าไร สามารถนำมาวิเคราะห์ ปริมาณน้ำได้ทุกวัน ขณะเดียวกันดครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้ร่วมนำเสนอผลงานนวัตกรรม ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2567 ประเภทนวัตกรรมบริการ กรมชลประทาน ซึ่งมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด จำนวนทั้งสิ้น 24 ผลงาน แบ่งออกเป็น นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) 13 ผลงาน นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) 7 ผลงาน นวัตกรรมบริการ (Service Innovation) 4 ผลงาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า