กรรมการติดตามและประเมินผลการ ปฏิบัติงาน (กตป.) สํานักงาน กสทช.ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.)จัดการประชุมเพื่อรับฟัง ความคิดเห็นสาธารณะ (Public Hearing) ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการจ้างที่ปรึกษา ติดตาม ตรวจสอบ และ ประเมินผลตามนโยบาย กสทช.ที่สําคัญ ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจําปี 2567
ที่ ห้องประชุมโรงแรมแคนทารี่ ฮิลล์ เชียงใหม่ นางสาวอารีวรรณ จตุทอง กรรมการติดตามและประเมินผลการ ปฏิบัติงาน(กตป.)ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เป็นประธานในการเปิดการประชุม เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(Public Hearing)ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงจ้างที่ปรึกษาติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช.ที่สําคัญ ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจําปี 2567 ที่เป็นการจัดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นครั้งแรก โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย และ บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ตัวแทนภาคประชาชน และ หน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าร่วมหลายร้อยคน
โดยทาง นางสาวอารีวรรณ จตุทอง กรรมการติดตามและประเมินผลการ ปฏิบัติงาน(กตป.)ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค บอกว่า การจัดประชุมในครั้งนี้ เป็นการจัดขึ้นเพื่อ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช.ที่สําคัญ ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจําปี 2567 ดําเนินการตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และ กํากับ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกําหนดให้มี คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน(กตป.)มีอํานาจหน้าที่ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดําเนินการ และบริหารงานของ กสทช.สํานักงาน กสทช.และเลขาธิการ กสทช.เป็นประจําทุกปี โดยในปี 2567 กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ได้กําหนดนโยบายที่สําคัญ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล 2 เรื่อง ได้แก่
1) การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะภายหลังการรวมธุรกิจ ระหว่างบริษัทแอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จํากัด (AWN) และบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จํากัด (มหาชน) (3BB) เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และ
2) การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการสนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภคของกองทุน วิจัยและพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)
โดยการจัดประชุมเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (public hearing) ครั้งที่ 2 กําหนดจัดขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้แทนองค์กรผู้บริโภค ผู้แทนกลุ่มคนพิการ กลุ่ม เปราะบาง ผู้แทนสภาเด็ก และ เยาวชน ผู้แทนเครือข่ายผู้บริโภค ผู้แทนจากการใช้ บริการโทรคมนาคม นักสื่อสารมวลชน ผู้ที่เคยได้รับทุนสนับสนุนจาก กทปส.โดยครั้งต่อไป จะกําหนดจัดขึ้นที่ สุราษฎร์ธานี และอุบลราชธานี เพื่อนําข้อคิดเห็น จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาค จัดทํารายงาน และเสนอต่อกรรมการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน(กตป.)ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ต่อไป
นางสาวอารีวรรณ จตุทอง กรรมการติดตามและประเมินผลการ ปฏิบัติงาน(กตป.)ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวเพิ่มเติมว่า กองทุนวิจัย และพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส.จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ๆ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 ในการ ส่งเสริม และสนับสนุน การดำเนินงานด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ที่เป็นประโยชน์ ต่อสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างทั่วถึง การสนับสนุนงานวิจัย และพัฒนา และการคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งการเป็นกลไกให้ได้รับประโยชน์ จากการดำเนินงานทั้งสามกิจการ
ทั้งนี้ ได้ดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และแผนยุทธศาสตร์ตามแผนแม่บทกองทุน กทปส.พ.ศ.2563 ถึง 2566 ผ่านโครงการต่างๆ โดยการเปิดรับข้อเสนอจากผู้รับใบอนุญาต ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐสถาบันการศึกษา และองค์กรสาธารณะประโยชน์ โดยในปี 2567 กองทุน กทปส.ได้ประกาศ เรื่อง โครงการประเภทที่ 1 ประจำปี 2567(ครั้งที่1)ตามวัตถุประสงค์ มาตรา 52(1)52 (2) และ 53 (3) เท่านั้น
ดังนั้น การจัดสรร และ สนับสนุนของกองทุน กทปส.จะต้องมีการทบทวน การสนับสนุนโดยการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา การตีความเป้าหมายของการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จะต้องครอบคลุมในทุกมิติตามมาตรา 524 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
สำหรับกิจกรรมในวันนี้ เป็นการจัดประชุมเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(public hearing)ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ กำหนดจัดขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็น ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้แทนองค์กรผู้บริโภค ผู้แทนกลุ่มคนพิการ กลุ่มเปราะบางผู้แทนสภาเด็ก และเยาวชน ผู้แทนเครือข่ายผู้บริโภค ผู้แทนจากการใช้บริการโทรคมนาคม นักสื่อสารมวลชน ผู้ที่เคยได้รับทุนสนับสนุนจาก กทปส.