ช้ำหัวอก สวนลำไยยืนต้นตายหลังถูกน้ำท่วมเสียหายหลายพันไร่

หัวอกชาวสวนลำไย ต้นลำไยถูกน้ำท่วมขังนานนับเดือนใบลำไยเริ่มเหี่ยวเฉา บางต้นถูกน้ำท่วมจนมิดยืนต้นตาย ขณะที่เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เผย น้ำท่วมเชียงใหม่ ส่งผลให้สวนลำไยถูกน้ำท่วมกว่า 2 หมื่นไร่ คาดว่าจะได้รับผลกระทบ 6 พันไร่ คาดปีหน้าผลผลิตลำไยจะลดลง 45,000 ตัน

ผลกระทบจากอุกภัยน้ำท่วมในจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากจะทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหายแล้วพื้นที่ททางการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนลำไย ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันป่าตองที่ติดกับแม่น้ำปิง และเป็นที่ราบลุ่ม ของนายกิตติ์นิพัทธ์ สุนันตะ เกษตรกรชาวสวนลำไย บ้านแม่ข่องใต้ ต.แม่ก๊า อ.สันป่าตอง ที่เพิ่งตกแต่งกิ่งเตรียมลำต้น เพื่อทำลำไยนอกฤดู ช่วงปลายปีนี้ถูกมวลน้ำจากอำเภอหางดงไหลหลากเข้าท่วมสูงกว่า 2 เมตร ทำให้ต้นลำไยที่มีอายุ 4-8 ปี พื้นที่กว่า 7 ไร่ รวมกว่า 150 ต้นถูกน้ำท่วมจมไปกับน้ำนานนับเดือนใบเริ่มเหี่ยวเฉา บางต้นถึงกับยืนต้นตาย

ด้านนายกิตติ์นิพัทธ์ สุนันตะ เกษตรกรชาวสวนลำไย ในพื้นที่ บ้านแม่ข่องเหนือ บ้านแม่ข่องกลาง และบ้านแม่ข่องใต้ ต.แม่ก๊า อ.สันป่าตองมีพื้นที่ปลูกลำไยถูกน้ำท่วมกว่า 500 ไร่ ส่วนใหญ่จะถูกน้ำท่วมตั้งแต่วันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมาและระดับน้ำได้ลดลงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากนั้นใบลำไยเริ่มเหี่ยวเฉา ซึ่งขณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ได้แต่สังเกตการณ์ หากลำไยยืนต้นตายคงต้องตัดทิ้งทันที อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ตนเพิ่งจากคนงานตกแต่งกิ่งลำไย และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นลำไยหมดเงินไปว่า 2 หมื่นบาท เพื่อเตรียมความพร้อมของต้นลำไย ในการทำลำไยนอกฤดู แต่ก็มาถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายทั้งหมด

นายกิตติ์นิพัทธ์ สุนันตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ตนได้ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินร่วม 3 แสนบาท มาลงทุนในการเพาะปลูกลำไย และเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 2 ปี ก็ถูกน้ำท่วมอีกและไม่รู้ว่าต้นลำไยที่ถูกน้ำท่วมจะตายรอดกี่ต้น จึงอยากขอให้ภาครัฐช่วยเหลือในเรื่องเงินชดเชยเยียวยา และสนับสนุนต้นกล้าลำไย ให้เกษตรกร นอกจากนี้อยากให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องการพักชำระหนี้ และขอแหล่งเงินทุนในการลงทุนใหม่

ขณะที่ นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ พร้อม นางมัฑนา ธรรมใจ เกษตรอำเภอสารภี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอสารภี ลงพื้นที่บ้านปิงน้อง ต.สันทราย อ.สารภี เพื่อสำรวจความเสียหายพื้นที่เพาะปลูกลำไยในพื้นที่หลังจากที่พื้นที่ปลูกลำไย ในพื้นที่ดังกล่าวถูกน้ำท่วมขังยาวนานเกือบ 2 เดือนล่าสุดยังมีน้ำท่วมขังตามสวนลำไยอยู่

ด้านนายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่าจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่เพาะปลูกลำไยมากที่สุดของประเทศ 448,000 ไร่ ประสบอุทกภัย 22 อำเภอ 151 ตำบล 859 หมู่บ้าน ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกลำไย ถูกน้ำท่วมประมาณ 19,581 ไร่ พื้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบที่ถูกน้ำท่วมมากกว่า 1 เดือนประมาณ 6 พันไร่ ในกรณีน้ำต้นลำไยในจะเริ่มโศก ทิ้งใบและยืนต้นตายในที่สุด เนื่องจากว่าโดนน้ำขังเป็นระยะเวลานานและไม่มีอ็อกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงลำต้น ในส่วนความช่วยเหลือขณะนี้เกษตรกรจะได้รับการช่วยเหลือ 4,048 บาท/ไร่ แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ จากเดิมเจ้าหน้าที่จะให้ตวามช่วยเหลือหลังจากนี้ 90 วัน ได้มีการลดขั้นตอนการพิจารณาเหลือ 65 วัน ซึ่งซึ่งให้เจ้าหน้าที่ออกสำรวจให้แล้วเสร็จภายใน30วัน เพื่อดำเนินการช่วยเหลือโดยผ่านคณะกรรมการระดับตำบล อำเภอ จังหวัด โดยเกษตรกรจะต้องผ่านการขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรอำเภอ กรมส่งเสริมการเกษตร ส่วนผลกระทบด้านผลผลิตลำไยในปีหน้าจากการที่เกิดปัญหาน้ำท่วมคาดว่าผลผลิตลำไยในฤดูจะลดลง 10 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 45,000 ตัน

ส่วนการฟื้นฟูต้นลำไย หลังน้ำลดให้ตัดแต่งกิ่งที่เสียหาไม้ค้ำยันไว้ ให้ให้ตั้งตรง ในช่วง 5 วันแรก ไม่ควรน้ำหรือปุ๋ยยาต่างๆ และไม่เหยียบย่ำบริเวณราก เมื่อต้นไม้เริ่มฟื้นตัวแล้วจึงให้น้ำแต่น้อย ๆ แล้วควรให้ปุ๋ยและฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของรากและปรับปรุงดินด้วยไตรโครเดอร์ม่าปรับปรุงสภาพดิน ในอัตราเชื้อราไตรโคเดอร์มา สด 1 กิโลกรัมรำละเอียด 5กิโลกรัม ปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัมใช้รองก้นหลุม หว่าน หรือโรยรอบบริเวณโคน : ไม้ผลหรือไม้ยืนต้นใช้ 3 – 5 กิโลกรัมต่อต้น

หากต้องการสอบภามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ/สำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน หรือหมายเลขโทรศัพท์ 0-5311-2478-79

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า