ชาวขุนตาลขึ้นป้ายห้ามล่าเต่าปูลู หลังพบคนลอบล่าส่งขายตปท.กิโลฯละ 3,000-5,000

เชียงราย – ภาคีเครือข่ายนักอนุรักษ์ ผนึกชาวขุนตาล ประกาศเขตห้ามล่าเต่าปูลู หรือเต่าปากนกแก้ว หลังขบวนการค้าสัตว์ข้ามชาติลอบล่าส่งขาย ตปท.ในราคาสูงถึง 3,000-5,000 บาท

พระครูกิตติ วรพินิจ เจ้าอาวาสวัดห้วยสัก นายสรศักดิ์ ถาริยะ ผู้ใหญ่บ้านห้วยสัก นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต และชาวบ้านห้วยสัก หมู่ 9 ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย ได้ร่วมกันประกอบพิธีฟังธรรมขุนห้วยและเลี้ยงผีขุนห้วย ณ ป่าต้นน้ำห้วยสัก สุดสัปดาห์นี้ ก่อนประกาศให้ป่าต้นน้ำห้วยสักทั้งหมดเป็นเขตห้ามล่าเต่าปูลู หรือเต่าปากนกแก้ว (Big-headed Turtle)

นายสรศักดิ์ กล่าวว่าพิธีกรรมเหล่านี้ชาวบ้านได้ทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และยังมีการใช้ภูมิปัญญาล้านนาจัดการน้ำด้วยการจัดทำระบบเหมืองฝาย ปีนี้ยังได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าเต่าปูลู ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เพราะป่าต้นน้ำห้วยสักมีการจดทะเบียนเป็นป่าชุมชนที่มีเนื้อที่ประมาณ 1,200 กว่าไร่ ชาวชุมชนได้ร่วมกันอนุรักษ์ป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ยังคงมีเต่าปูลูอาศัยอยู่ได้

ทั้งนี้การประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าเต่าปูลูดังกล่าวถือเป็นแห่งที่ 4 ต่อจากป่าลุ่มแม่น้ำอิงตอนกลางและผืนป่าต้นน้ำอื่นๆ อีก 2 แห่ง โดยมีการตั้งกฎระเบียบเหมือนกันทุกแห่งคือจัดทำเป็นระเบียบป่าชุมชนที่ได้รับการรับรองจากกรมป่าไม้และมีการทำประชาคมหมู่บ้าน มีการตั้งคณะทำงานในการอนุรักษ์เต่าปูลู มีการตั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน มีกิจกรรมอนุรักษ์แหล่งอาศัยของเต่า เช่น ทำฝาย ป้องกันไฟป่า ลาดตระเวนเฝ้าตรวจ สำรวจแนวเขตป่า ฯลฯ เพื่อป้องกันผู้คนโดยเฉพาะคนจากนอกพื้นที่เข้าไปล่าเต่าปูลูหรือเข้าไปสร้างผลกระทบภายในป่าดังกล่าว

สำหรับป่าต้นน้ำห้วยสักอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยป่าแดง ป่าห้วยป่าตาลและป่าห้วยไคร้ ทางชุมชนได้ขึ้นทะเบียนป่าชุมชนกับกรมป่าไม้ โดยมีพื้นที่ 1,289 ไร่ 3 งาน 99 ตารางวา ต่อมาในปี 2565-2567 ชาวบ้านได้ร่วมกับสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตทำการศึกษาเต่าปูลูพบอาศัยอยู่ในระบบนิเวศของป่าต้นน้ำห้วยสักได้อย่างเหมาะสมเพราะเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่อาศัยอยู่ในน้ำที่สะอาด มีลำธาร โขดหิน น้ำตก แอ่งน้ำ มีสัตว์น้ำที่เป็นอาหารเพียงพอ ฯลฯ สมาคมฯ และชาวบานยังได้ร่วมกับทีมนักวิชาการคณะะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการวิจัยพบปัญหาหลักของเต่าชนิดนี้คือการล่าเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ เพราะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 3,000-5,000 บาท ทำให้ประชากรเต่าปูลูตามป่าต่างๆ ลดลง.

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า