หมอธีระวัฒน์ เผย “ภาวะลองวัคซีน mRNA” ทำพิษหลังฉีด เจอโรคหัวจรดเท้า “ไม่สู้งาน-ความจำเสีย”

หมอธีระวัฒน์ เผย “ภาวะลองวัคซีน mRNA” ทำพิษหลังฉีด เจอโรคหัวจรดเท้า “ไม่สู้งาน-ความจำเสีย” ขอ สธ. ศึกษาข้อมูลก่อนให้ปชช.ฉีด

เมื่อวันที่ 15 มกราคม ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ถึงการลงนามความร่วมมือทางด้านวิชาการและการวิจัยร่วมกับระหว่างศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ว่า ขอเรียนว่าความร่วมมือดังกล่าวนี้ ไม่ได้เป็นการต่อต้านวัคซีนใดๆ ทั้งสิ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทางวิชาการเชิงสร้างสรรค์ให้ประชาชนทราบข้อมูลจริงถึงผลกระทบจากการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะวัคซีนชนิด mRNA เนื่องจากข้อมูลที่เกิดขึ้นขณะนี้ พบว่าผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์เริ่มพบกลุ่มอาการต่างๆ ที่รักษายาก ทั้งหัวจรดเท้า ทั้งที่ผู้ป่วยไม่ได้มีโรคประจำตัว เช่น อาการเหนื่อย นอนไม่หลับ สู้งานไม่ได้ ใจเต้นเร็ว ตื่นแล้วหัวใจเต้นเร็ว มีผื่น ผมร่วง เกิดตุ่มตามผิวหนัง นอกจากนั้น ยังพบโรคไม่ค่อยเจอบ่อยในผู้ที่มีอายุน้อย 20-30 ปี เช่น เริม งูสวัด ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ ทั้งหมดนี้ เป็นความผิดปกติจากที่ทางการแพทย์เคยเจอ

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว© Matichon

“โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการอยู่แล้ว ก็เป็นมากขึ้น หรือกลุ่มที่ควบคุมอาการได้ดีแล้วกลับพบว่ามีอาการพัฒนาเร็วขึ้นหลังจากรับวัคซีนมา เช่น สมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน และมีการเกิดโรคใหม่ขึ้น เช่น โรคสมองอักเสบ โรคเส้นเอ็นเนื้อเยื่อพังพืดอักเสบ และยังมีปัญหาด้านความจำ สติปัญญา เป็นต้น ” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังรับวัคซีนนั้น เรียกว่า “ลองวัคซีน” ซึ่งขณะนี้จะพุ่งเป้าไปไปที่วัคซีนชนิด mRNA ที่มีการใช้อนุภาคไขมันเป็นส่วนผสมในวัคซีน โดยทางบริษัทผู้ผลิตแจ้งข้อมูลว่า อนุภาคไขมันดังกล่าวจะอยู่ในกล้ามเนื้อต้นแขนที่ฉีดวัคซีนเพียง 2-3 วัน แต่เมื่อมาดูข้อมูลจริง กลับพบว่า อนุภาคไขมันอยู่ในร่างกายได้เป็นเดือน นอกจากนั้น ยังสามารถแทรกซึมเข้าไปในเซลล์เนื้อเยื่อตามอวัยวะต่างๆ เพื่อรอสร้างโปรตีนหนามขึ้นที่ผิวเซลล์ ทำให้ร่างกายเรามองเห็นไวรัสได้ ซึ่งตรงนี้เองทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งเหมือนการติดเชื้อโควิด-19 ใหม่

“ภาวะลองวัคซีนมี 3 ระยะ แต่ย้ำว่า ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน โดยระยะแรก เกิดหลังรับวัคซีน 2-3 วัน เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน หรือลอยไปอุดเส้นเลือดในปอด หัวใจหยุดเต้น ระยะกลาง เกิดขึ้นในช่วง 3 เดือน ที่จะเป็นอาการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น โดยอาการเหล่านั้น จะทอดยาวไปจนถึงระยะปลาย ที่เกิดขึ้นหลัง 3 เดือนหลังรับวัคซีน ซึ่งอาการทุกอย่างจะเหมือนอาการลองโควิด-19 ทุกประการ ตรงนี้เอง สามารถอธิบายได้ชัดเจนว่า วัคซีนชนิด mRNA ที่เราได้รับนั้น มีโปรตีนหนาม หรือ สไปก์ (spike protein) ที่ทำร้ายมนุษย์ได้เหมือนกับที่ไวรัสทำ ดังนั้น การใช้โปรตีนหนามมาทำวัคซีน แทนที่จะสร้างภูมิคุ้มกัน กลับมีการเบี่ยงเบนให้เป็นการอักเสบของร่างกาย คล้ายกับการติดเชื้อโควิด-19” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว© Matichon

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า สิ่งที่ตนได้ทำความร่วมมือกับ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อศึกษาเรื่องสมุนไพรไทยที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในการนำมารักษาภาวะลองวัคซีน และลองโควิด-19 เพราะยาแผนปัจจุบันเอาไม่อยู่ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาในสมุนไพรไทย เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร และไม่ให้มีการด้อยค่าสมุนไพรไทย ทั้งนี้ ตนอยากแนะนำให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) วิเคราะห์ข้อมูลในการใช้วัคซีนชนิด mRNA ดูว่า เกิดผลกระทบอย่างไรในคนไทย ก่อนที่จะมีการแนะนำให้ฉีดในทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี เนื่องจากทั่วโลกต่างศึกษาเรื่องนี้กัน และประเมินว่า การรับวัคซีน mRNA นั้น มีความเกี่ยวข้องการการเสียชีวิตของประชาชนที่สูงขึ้นโดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุของโรคได้

“ข้อมูลทางการแพทย์ที่ออกมาในปี 2023 ยืนยันได้ว่า วัคซีน mRNA รุ่นเก่าหรือใหม่นั้น แท้จริงแล้ว สามารถสร้างภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองได้เพียง 3 เดือน แล้วหลังจากนั้น ภูมิคุ้มกันจะหายไป แล้วจะมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น ส่วนความเชื่อว่า ฉีดแล้วจะลดการเสียชีวิตหรืออาการรุนแรงได้นั้น ก็มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่รับวัคซีน mRNA หลัง 3 เดือน กับคนที่ไม่เคยรับวัคซีน หรือรับวัคซีนมาเพียง 2 เข็ม พบว่า อาการรุนแรงเท่ากัน ดังนั้น การฉีดวัคซีนกลับเอื้อให้มีการติดเชื้อมากขึ้น นอกจากนั้น การรับวัคซีนบ่อยๆ ทำให้ T-Cell ในร่างกายมนุษย์ ที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ กลับอ่อนแอลงด้วย ซึ่งจะทำให้มีการติดเชื้อโรคอื่นๆ ง่ายขึ้นด้วย” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า เป็นการประเมินเจาะจงเฉพาะวัคซีน mRNA หรือไม่ หรือวัคซีนชนิดอื่นๆ ด้วย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า วัคซีน mRNA เป็นที่จับตามาก แต่วัคซีนอื่น เช่น ชนิดเชื้อตาย อนุภาคไขมันจะอยู่ในตำแหน่งที่ฉีดเท่านั้น ไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปร่างกายได้ ซึ่งต่างจากชนิด mRNA ที่เข้าไปในทุกระบบของร่างกาย ส่วนชนิดไวรัลเวกเตอร์ หลายประเทศเลิกฉีดแล้ว เพราะเกิดผลระยะสั้น และระยะกลาง คือ มีภาวะเส้นเลือดอุดตันและเส้นเลือดแตก ดังนั้น การฉีดวัคซีนจำเป็นต้องมีการชั่งน้ำหนักถึงผลกระทบเหล่านี้ด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า