กรมอุตุนิยมวิทยา ชี้แจงกรณีความตื่นตระหนกกับข่าว “ร้อนปรอทแตก” โดยระบุว่า จากข้อมูลแบบจำลองบรรยากาศของกรมกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่าปีนี้จะร้อนแรงกว่าปีที่แล้ว 1-2 ซ. ช่วงที่ร้อนถึงร้อนจัดจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเมษายน เป็นช่วงที่ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว
ซึ่งในช่วงสัปดาห์หน้า (19-25 ก.พ.67) ผลผลิตจากแบบจำลองฯได้แสดงให้เห็นว่าจะเป็นช่วงที่ประเทศไทยตอนบน จะเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้น (เว้นแต่ทางภาคเหนือตอนบน อีสานตอนบน ยังมีอากาศเย็นและยังมีอากาศหนาวตาม ยอดดอย ยอดภู
แต่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล จะเริ่มสะสมความร้อน และคาดว่าช่วงปลายเดือนนี้จะเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทาง
โดยปกติอุณหภูมิสูงสุดมักจะเกิดขึ้นช่วงเวลา ประมาณ 4 โมงเย็น (เว้นแต่วันที่มีฝน) อุณหภูมิสูงสุดช่วงสัปดาห์หน้าในบริเวณดังกล่าวประมาณ 35 – 38 ซ. และบางวันยังอาจจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ดังนั้นอุณหภูมิในช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง และคาดว่าฤดูร้อนปีนี้อากาศจะร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุดอาจจะสูงถึง 43-45 ซ.ได้บางจังหวัด (แต่จะทำลายสถิติเดิมได้หรือไม่ต้องติดตาม)
โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล เนื่องจากจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมแทน และช่วงที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีฝนตกน้อย ทำให้ความชื้นในอากาศมีน้อย (อากาศแห้ง)
ดังนั้นจึงต้องเฝ้าระวังโรคที่มากับความร้อน และยังต้องติดตามพายุฤดูร้อนเป็นระยะๆ ที่คาดว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้น ทำให้มีลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า บางครั้งอาจมีลูกเห็บ อาจเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ซึ่งหากเกิดพายุฤดูร้อนปีนี้ อาจมีความรุนแรงกว่าปกติเนื่องจากอากาศที่ร้อนจัดในปีนี้
โดย pptvhd