ไขมันพอกตับ ในระยะแรกอาจไม่มีสัญญาณที่บ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพ จึงทำให้หลายคนเพิกเฉยและปล่อยปละละเลยจนเกิดอันตรายได้
สถิติที่น่าสนใจของโรคไขมันพอกตับ
- 25 – 30% ของคนไทยเผชิญกับภาวะไขมันพอกตับโดยไม่รู้ตัว
- ภาวะนี้สามารถเกิดได้ทั้งเพศชาย และเพศหญิง ส่วนใหญ่พบตั้งแต่อายุ 30 ขึ้นไป
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มีความเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ
- 1 ใน 4 ของผู้ที่เผชิญภาวะไขมันพอกตับ จะเป็นตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับ
- ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ
- การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
- การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง
- การไม่ออกกำลังกาย
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน
วิธีคัดกรองภาวะไขมันพอกตับ
- เจาะเลือดดูการทำงานของตับ ว่ามีค่าการอักเสบสูงกว่าปกติหรือไม่ ในผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับอาจพบระดับน้ำตาล และระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติร่วมด้วย
- การตรวจอัลตราซาวด์บริเวณช่องท้อง จะพบว่า ตับอาจมีขนาดโตขึ้น และมีลักษณะขาวขึ้นเมื่อเทียบกับไตและม้าม
- Fibroscan เป็นการตรวจความยืดหยุ่น พร้อมกับประเมินไขมันสะสมภายในเนื้อตับ เพื่อสำรวจความเสียหายของเนื้อเยื่อตับว่ามีมากน้อยเพียงใด
วิธีรักษาภาวะไขมักพอกตับ
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาภาวะไขมันพอกตับโดยตรง แต่สามารถใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- งดหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หากมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปกติ ควรลดน้ำหนัก
ข้อมูล : ศ.นพ.พิสิฐ ตั้งกิจวาณิชย์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคตับอักเสบและมะเร็งตับ ภาควิชาชีวเคมี
ที่มา : รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เรื่องราวโดย Thansettakij