รู้หรือไม่? ค่าเฉลี่ยอายุของคนไทยในปัจจุบันมีอัตราสูงขึ้น ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น โดยผู้ชายมีอายุเฉลี่ย 73 ปี และผู้หญิงมีอายุเฉลี่ย 79 ปี
แต่การมีชีวิตยืนยาวอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ หากชีวิตยังต้องมีความเจ็บป่วยร่วมด้วย ซึ่งมีอีกหนึ่งตัวชี้วัด Health Adjusted Life Expectancy (HALE) คือ อายุคาดเฉลี่ยในการมีสุขภาพดี หรือการมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากโรคและการเจ็บป่วย
ซึ่งผลสำรวจจาก กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2566 พบว่า คนไทยมีอายุเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ในผู้ชายที่ 68 ปี และผู้หญิง 72 ปี สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยโดยเฉลี่ยจะมีช่วงที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ยาวนาน 5-7 ปี และภาพรวมของประชากรทั่วโลกจะมีช่วงเวลาที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ยาวนานเกือบ 10 ปี
จากการศึกษานี้อาจเป็นสิ่งเตือนใจ เพื่อให้เราหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงยาวนานที่สุด เพื่อให้ 10 ปีสุดท้ายได้เป็นช่วงชีวิตที่เราได้เอนจอยและทำในสิ่งที่ชื่นชอบ ไปพร้อมกับการมีสุขภาวะที่ดีและไม่เป็นภาระกับผู้อื่นและสังคม
นพ.สมบูรณ์ รุ่งพรชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์วัยยุวัฒน์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมใกล้ตัวที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการมีสุขภาพไม่ดีในชีวิตบั้นปลาย “จากการศึกษาด้านการแพทย์พบเห็นหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีสุดท้ายก่อนสิ้นอายุขัย กับภาวะการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ล้วนมาจากพฤติกรรมใกล้ตัวเราที่ใช้ชีวิตอย่างไม่ระมัดระวัง เช่น
‘การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม’ มีรสหวานและเค็มจัด ทำให้มีน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง การทานผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ
‘ขาดการออกกำลังกายเป็นเวลานาน’ ทำให้ไขมันสะสมในร่างกายมากและระบบเผาผลาญทำงานไม่ดี
‘การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ’ ทำให้ตับเกิดการอักเสบ ‘การสูบบุหรี่จัด’ ทำให้ถุงลมภายในปอดเสียหาย
‘ความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ’ ทำให้ระบบต่างๆ ทำงานผิดปกติและเจ็บป่วยได้ง่าย
‘การสัมผัสกับแสงและมลภาวะที่มีความเสี่ยงเป็นประจำ’ เช่น รังสียูวี ควันไอเสีย หรือสารกำจัดศัตรูพืช รวมถึงพฤติกรรมที่หลายคนมองข้ามและคิดว่าไม่กระทบกับชีวิตอย่าง
‘การไม่รับประทานอาหารเช้า’ ซึ่งพฤติกรรมนี้ส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากมื้อเช้าเป็นอาหารมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน โดยการงดอาหารมื้อเช้าจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น และส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้”
จะดีกว่าไหม…? ถ้าเราหันมาเปลี่ยนพฤติกรรมและเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยการรับประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารครบถ้วนอย่างสม่ำเสมอ เพราะคุณประโยชน์ในอาหารเช้านั้นสำคัญต่อสุขภาพตั้งแต่ผู้ที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต วัยทำงาน หรือสูงวัย อีกทั้งการได้รับโภชนาการและสารอาหารที่สำคัญครบถ้วนจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการยับยั้งสัญญาณจากโรคติดต่อไม่เรื้อรังได้มากมาย อาทิ ความจำไม่ดี ขาดสมาธิ ขี้ลืม อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อหรือข้อต่อไม่ดี เจ็บเข่าง่าย ผิวแห้ง ผิวหมองคล้ำ ผมร่วง ริ้วรอย มีอาการแพ้ง่าย เป็นภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันไม่ดี เจ็บป่วยง่าย ท้องผูก ท้องอืด ลำไส้แปรปรวน ไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง
“นิวทริไลท์” จาก แอมเวย์ ได้ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกและวิจัยพัฒนาเพื่อค้นหาโซลูชันในการดูแลสุขภาพผู้คนให้มีสุขภาพที่แข็งแรงยืนยาว สร้างจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาวะที่ดีตามหลัก Lifestyle Medicine ด้วยการส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคและผู้ที่ใส่ใจดูแลตัวเอง ทั้งการได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์และครบถ้วน รวมถึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำลายสุขภาพองค์รวม ซึ่งหนึ่งในวินัยที่ทุกคนควรให้ความสำคัญมากขึ้น คือ
“การรับประทานอาหารเช้า” ถือเป็นหนึ่งในมื้ออาหารที่สำคัญที่ใครหลายคนมองข้าม และเป็นมื้อที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของเราได้สูญเสียสารอาหารขณะฟื้นฟูร่างกายในช่วงเวลานอนหลับยาวนานถึง 7 – 8 ชั่วโมงของแต่ละวัน ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายงดอาหารควบคู่กับการทำงานของร่างกายอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงสารอาหารที่ร่างกายต้องการ มาใช้ซ่อมแซมร่างกายขณะที่หลับ อาทิ โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ โอเมก้า-3 น้ำ เป็นต้น
ดังนั้น ในช่วงที่เราตื่นนอน สารอาหารที่มีคุณค่าเริ่มพร่องน้อยลงจากการทำงานของเซลล์ในร่างกายตลอด ซึ่งหัวใจสำคัญที่ทำให้เราก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรง มีอายุยืนอย่างมีคุณภาพ ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในช่วงสูงวัย คือ การสร้างสมดุลในการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์รอบด้าน ทั้งกายและใจ ด้วยการจัดสรร เวลาดี (Good Time) สารอาหารดี (Good Nutrient) พลังงานดี (Good Energy)สุขภาพดี (Good Health) และ รูปร่างดี (Good Shape) ผสานเทคนิคในการสร้างวินัยในการทานอาหารเช้าที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
-
ทานอาหารเช้าภายใน 2 ชั่วโมงทันทีหลังจากตื่นนอน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ระบบเผาผลาญของร่างกาย
ทำงานได้ดีขึ้นและทำให้ร่างกายแข็งแรงระหว่างวัน เป็นการฝึกวินัยให้เกิดความคุ้นชินตรงต่อเวลา โดยอาหารที่เหมาะแก่การรับประทานในตอนเช้า ควรเป็นอาหารที่สามารถให้พลังงานที่ดีต่อร่างกาย อาทิ ไข่ต้ม อกไก่ โยเกิร์ต ขนมปังธัญพืช นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต สลัดผัก กาแฟดำ และเครื่องดื่มหรือน้ำผักผลไม้หวานน้อย
- เริ่มต้นทานอาหารด้วยปริมาณน้อย เพื่อให้ง่ายต่อการย่อยอาหาร แต่มีคุณค่าอาหารที่ดีต่อร่างกาย
- ตื่นนอนก่อนเวลาประมาณ 15 นาที เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ให้ตื่นตัวจากการนอนหลับและพร้อมที่จะทานอาหารเช้าเพื่อนำพลังงานมาใช้ในระหว่างวัน
– Website : https://www.matichon.co.th